บริษัท ไอแซค มาร์เก็ตติ้ง จำกัด
โทร 02-735-0581-8
โทร 02-735-0581-8
  • th

ส่วนประกอบหลัก Basic Fire Alarm


ส่วนประกอบหลัก Basic Fire Alarm

ระยะการเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือไฟไหม้

ระยะการเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือไฟไหม้

จะมีการอยู่ 4 ระยะดังนี้

1. ระยะเริ่มต้น

2. ระยะเกิดเป็นควัน

3. ระยะเกิดเปลวไฟ

4. ระยะเกิดความร้อนสูง

1. ระยะเริ่มต้น

การสลายตัวเนื่องจากความร้อนของวัสดุที่ไหม้ไฟได้ จะเกิดอนุภาคเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งอนุภาคเหล่านี้มีทั้งอนุภาคของแข็งและอนุภาคของเหลว ซึ่งประกอบด้วย คาร์บอนซึ่งยังไม่ไหม้ไฟ ไอน้ำ และก๊าซต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นด้วยการสลายตัวเนื่องจากความร้อนอนุภาคที่ไหม้ไฟเหล่านี้ ในระยะเริ่มต้นจะมีขนาดเล็กมาก น้อยกว่า 1 ไมครอน (หนึ่งในล้านของเมตร) ซึ่งตาของมนุษย์โดยทั่วไปไม่อาจมองเห็นอนุภาคที่เล็กกว่า 5 ไมครอนได้ดังนั้นการเกิดการเผาไหม้ในระยะเริ่มต้นนี้จึงยังมองไม่เห็น

2. ระยะเกิดเป็นควัน

ถ้าเพลิงที่เกิดในเชื้อเพลิงที่เป็นของแข่งยังคงดำเนินต่อไป มันจะถึงระยะที่เกิดเป็นควันขึ้น การเผาไหม้จะเพิ่มขึ้นจนถึงจุดซึ่งทั้งปริมาณและมวลสารของอนุภาครวมตัวกันเพิ่มขึ้นจนเกิดเป็นควันที่มองเห็นได้ ความร้อนที่ออกมาจะเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่เพียงพอที่จะช่วยให้การลุกไหม้ดำเนินติดต่อไปได้เอง

3. ระยะเกิดเปลวไฟ

ระยะนี้ปริมาณความร้อนมากพอที่จะจุดก๊าซ และอนุภาคที่ยังไม่ไหม้ไฟซึ่งเกิดจากการสลายตัวเนื่องจากความร้อนให้ลุกไหม้ขึ้น เมื่อไฟเข้ามาถึงระยะเกิดเปลวไฟแล้ว มันจะเกิดพลังงานพอเพียงที่จะทำให้เกิดการลุกไหม้ต่อไปได้ด้วยตัวของมันเอง และความร้อนจะสูงขึ้นตราบใดที่ยังมีเชื้อเพลิง ออกซิเจน และอุณภูมิสูงกว่าจุดติดไฟของเชื้อเพลิงนั้นอยู่

4. ระยะเกิดความร้อนสูง

ระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของเพลิง เป็นช่วงที่เกิดความร้อนสูงตามมาอย่างรวดเร็วถ้าเพลิงลุกลามขึ้นมาถึงขั้นนี้จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากมาย และอยากที่จะดับลงได้

 

ส่วนประกอบหลัก ๆ ของระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย

ส่วนประกอบหลัก ๆ ของระบบสัญญาณเตือนอัคคีภัย

1. ตู้ควบคุม (Control Panel)

    • ชุดจ่ายไฟ (Power Supply Unit)
    • ชุดสำรองไฟ (Batterry Unit)

2. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices)

3. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณ (Notification Appliance Devices, NAC)

4. อุปกรณ์แยกแจ้งสัญญาณ (Graphic Annunciator)

5. อุปกรณ์เสริม (Auxiliary Devices)

1. ตู้ควบคุม (Control Panel)

• ระบบการแจ้งเหตุเป็นโซน (Conventional System)
• ระบบการแจ้งเหตุเป็นจุด (Addressable System)

ส่วนประกอบที่สำคัญ

• CPU
• ชุดอุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices)
• ชุดอุปกรณ์แจ้งสัญญาณ (Notification Appliance Devices, NAC)

 

• ปุ่มการควบคุมการทำงานต่าง ๆ เบื้องต้น เช่น

   - ปุ่มรับทราบเหตุการณ์ (Acknowledge)
   - ปุ่มหยุดเสียงการแจ้งเหตุ (Silence)
   - ปุ่มเคลียร์เหตุการณ์ต่างๆ (Reset)
   - ฯลฯ

• ชุดสำรองไฟ (Battery Unit)

   - สามารถจ่ายไฟให้ระบบในสถาวะปกติได้ไม่น้อยกว่า 24 ชั่วโมง และในสถาวะแจ้งเหตุได้ไม่น้อยกว่า 15 นาที

 

2. อุปกรณ์เริ่มสัญญาณ (Initiating Devices)

2.1 อุปกรณ์เริ่มสัญญาณแบบมือดึงจากบุคคล (Manual Pull Station)

• แบบทุบกระจก (Break Glass)

• แบบมือดึงจากบุคคล (Manual Pull Station)

- Single Action
- Double Action

 

การต่อวงจร การใช้งาน

2.2 อุปกรณ์เริ่มสัญญาณโดยอัตโนมัติ (Detectors)

• อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)

 

 

1. ชนิดจำกัดอุณหภูมิ (Fixed Temperature)

- อุณหภูมิจำกัดอยู่ที่ 135’ F และ 200’ F
- สถานที่ติดตั้ง เช่น ในห้องครัวหรือห้องเครื่อง ห้องหม้อไอน้ำ (Boiler Room) เป็นต้น

 

2. ชนิดคอมบิเนชั่น (Combination)

- ทำงานเมื่อตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่มี อัตราการเปลี่ยนแปลงเกินที่กำหนด & ทำงานที่อุณหภูมิ จำกัด (Rate of Rise & Fixed Temperature) อุปกรณ์จะทำงานที่อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปในอัตรา 15 ํF (8 ํC) ต่อนาที
- อุณหภูมิอยู่ที่ 135 ํF และ 200 ํF

ระยะการติดตั้ง

- ระยะห่างไม่เกิน 7 เมตร และ 9 เมตร ในบริเวณทางเดินทีมีความกว้างไม่เกิน 3.6 เมตร ที่ระดับความสูงไม่เกิน 4 เมตร
- ระยะห่างการติดตั้งระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับความร้อน (Heat Detector)กับเพดานหรือหลังคา ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 15 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 100 มิลลิเมตร

 

บริเวณใต้เพดาน

บริเวณใต้หลังคา

บริเวณหลังคาที่การระบายอากาศ

 

การต่อวงจรการใช้งาน

 

• อุปกรณ์ตรวจจับควัน (Smoke Detector)

 

1. อุปกรณ์ตรวจจับควันแบบ Photoelectric

"สามารถตรวจจับควันที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ที่เกิดจากการลุกไหม้ของวัถตุที่คุตัวก่อนก่อนลุกเป็นไฟได้ช้า" เช่น การเผาไหม้สายไฟ พีวีซี เป็นต้น

ชนิดทีมีการทำงานด้วยการบังของแสง

รูปที่ 1 แสดงแหล่งของแสง ชนิดการบังแสง

รูปที่ 2 แสดงการบังของแสง

 

ชนิดทีมีการทำงานด้วยการการหักเหของแสง

รูปที่ 3 แสดงแหล่งของแสง ชนิดการหักเหของแสง

รูปที่ 4 แสดงการหักเหของแสง

 

ระยะการติดตั้ง

- ระยะห่างไม่เกิน 9 เมตร
- และระยะห่าง 12 เมตร ในบริเวณทางเดินทีมีความกว้างไม่ เกิน 3.6 เมตร ที่ระดับความสูงไม่เกิน 4 เมตร
- เพดานหรือหลังคา ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 600 มิลลิเมตร ที่ระดับความสูงไม่เกิน 4 เมตร
- ระยะห่างการติดตั้งระหว่างอุปกรณ์กับเพดานหรือหลังคา ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 25 มิลลิเมตร แต่ไม่เกิน 600 มิลลิเมตร ที่ระดับความสูงไม่เกิน 4 เมตร
- ถ้าเกิน 4 เมตรต้องดูมาตรฐาน แต่ระยะห่างจะไม่เกิน 2.70 เมตร ที่ความสูง 10.50 เมตร

 

บริเวณใต้เพดาน

บริเวณใต้หลังคา

บริเวณหลังคาที่การระบายอากาศ

การต่อวงจร การใช้งาน

ชนิดการเดินสายวงจรของอุปกรณ์ตรวจจับควันจะมีอยู่ 2 ชนิด

   • ชนิด 2 สาย (2-wire Smoke Detector) จำนวน Smoke จะขึ้นกับพิกัดกระแสภายในโซน

   • ชนิด 4 สาย (4-wire Smoke Detector) จำนวน Smoke จะขึ้นกับพิกัดกระแสของ power supply

"สามารถเดินสายวงจรของระบบได้ทั้งแบบ 2 สาย (Class B) และแบบ 4 สาย (Class A)"

 

ชนิด 2 สาย (2-wire Smoke Detector)
แบบ Class B

ชนิด 2 สาย (2-wire Smoke Detector)
แบบ Class A

ชนิด 4 สาย (4-wire Smoke Detector)
แบบ Class B

 

• อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบลำแสง (Projected Beam Detector)

 

• เป็นอุปกรณ์ตรวจจับควัน ชนิดการบังแสง ประกอบไปด้วย
   - อุปกรณ์ที่เป็นตัวรับ (Receiver)
   - และอุปกรณ์ที่เป็นตัวส่ง (Transmitter)

ระยะการติดตั้ง

- ระยะห่างการติดตั้งระหว่างอุปกรณ์ตรวจจับควันแบบลำแสงแต่ละตัว ต้องมีระยะห่างไม่เกิน 10-14 เมตร ที่ระดับความสูงไม่เกิน 8 เมตร
- ระยะห่างการติดตั้งระหว่างอุปกรณ์ กับเพดานหรือหลังคา ต้องมีระยะห่างไม่น้อยกว่า 300 มิลลิเมตร ที่ระดับความสูงไม่เกิน 8 เมตร
- แต่ถ้าความสูงเกิน 8 เมตรต้องดูระยะห่างของเพดานจากมาตรฐานการติดตั้ง แต่ระยะห่างจะไม่เกิน 7.50 เมตร ที่ความสูง 25 เมตร

การต่อวงจร การใช้งาน

• อุปกรณ์ตรวจจับควัน แบบใช้ในท่อลม (Duct Smoke Detector)

อุปกรณ์ตรวจจับควันชนิดนี้จะเป็นชนิด Photoelectric

 

ระยะการติดตั้ง

 

การต่อวงจร การใช้งาน

• อุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟ (Flame Detector)

เป็นอุปกรณ์ตรวจจับเปลวไฟในขณะทีเกิดเหตุเพลิงไหม้ มักจะเอาไว้ป้องกันในบริเวณที่มีเชื้อเพลิงชนิดที่เกิดการ ลุกไหม้อย่างรวดเร็วและไม่เกิดควัน แต่จะเกิดเปลวไฟขึ้นทันที

"โดยทั่วไปในการเกิดเพลิงไหม้จะมีเปลวไฟเกิดขึ้นส่วนมากเปลวไฟ ที่เกิดขึ้นจะมีการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าทีมีรังสีอุลตราไวโอเลต (Ultraviolet) และรังสีอินฟาเรด (Infrared) ออกมา" จึงสามารถแบ่งอุปกรณ์ตรวจจับเป็น 2 ชนิด คือ

1. ชนิดตรวจจับแสงที่เป็นแสงอินฟาเรด (Infrared)

เชื่อเพลิงที่แผ่แสงที่เป็นแสงอินฟาเรด (Infrared) มาก เช่น การลุกไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น
 

2. ชนิดตรวจจับแสงที่เป็นแสงอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet)

เชื่อเพลิงที่แผ่แสงที่เป็นแสงอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) มาก เช่น การลุกไหม้ของก๊าซ น้ำมันก๊าด สารทำละลาย หรือการเชื่อมโลหะ เป็นต้น
 

ระยะการติดตั้ง

ระยะห่างระหว่างจุดกำเนิดไฟถึงอุปกรณ์ตรวจจับ มีผลต่อความเข็มของการแผ่รังสี โดย ความเข็มของรังสีจะลดลงในปริมาณที่ผกผันของระยะห่างยกกำลังสองโดยประมาณ นั้นคือถ้าระยะห่างเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ความเข็มของการแผ่รังสีจากจุดกำเนิดไฟที่สามารถทำให้อุปกรณ์ตรวจจับทำงานได้ จะต้องมีความเข็มมากขึ้นถึง 4 เท่าจากเดิม
 

การต่อวงจร การใช้งาน

• อุปกรณ์ตรวจสอบน้ำไหล (Water Flow switch) และ ตรวจสอบสถานะของวาล์วน้ำ (Supervisory Switch)

 

อุปกรณ์ตรวจสอบน้ำไหล (Water Flow switch)

จะติดตั้งอยู่ที่ท่อ ดับเพลิงของแต่ละชั้นตรวจสอบการไหลของน้ำในขณะที่ระบบสปริงเกลอร์ ทำงาน น้ำจะไหลผ่านอุปกรณ์ ทำให้ใบพัดเคลื่อนที่ หน้าคอนเทค (NO, N) ที่อยู่ด้านบนอุปกรณ์จะเปลี่ยนสถานะ ซึ่งจะไปต่อวงจรไปยังระบบสัญญาณ เตือนอัคคีภัย

 

อุปกรณ์ตรวจสอบสถานะของวาล์วน้ำ (Supervisory Switch)

จะติดตั้งที่อยู่ที่ตัววาล์ว ทำหน้าที่ตรวจสอบสถานะของวาล์วน้ำว่า เปิด หรือ ปิด อยู่ ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าจะตรวจสอบในสถานะใด

 

การต่อวงจร การใช้งาน

Water Flow switch

Supervisory Switch

• อุปกรณ์ตรวจจับชนิดป้องกันการระเบิด ( Explosion-proof )

Smoke detector

Manual pull station

Heat detector

Alarm Bell

 

3. อุปกรณ์แจ้งสัญญาณ (Notification Appliance Devices)

เป็นอุปกรณ์เพื่อส่งเสียงแจ้งเหตุ มีการแจ้งเป็นเสียงกระดิ่ง (Bell), เสียงและแสง (Horn & Strobe)

ส่วนการแจ้งเป็นเสียงประกาศด้วยลำโพง (Speaker) จะต้องมีระบบขยายเสียงแยกออกไปอีกระบบหนึ่ง แต่ต้องทำงานสัมพันธ์กับระบบการตรวจจับด้วย
 

ระยะการติดตั้ง

- ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์แจ้งเหตุต้องไม่เกิน 30 เมตร
- ต้องมีระดับความดังของเสียงอย่างน้อย 85 Db.

การต่อวงจร การใช้งาน

 

4. อุปกรณ์แยกแจ้งสัญญาณ (Graphic Annunciator)

เป็นอุปกรณ์ทีมีไว้เพื่อดูจุดเกิดเหตุภายในอาคาร เพื่อบอกตำแหน่ง หรือจุดเกิดเหตุได้อย่างรวดเร็ว

ถ้าระบบเป็นระบบการแจ้งเหตุเป็นจุด ( Addressable System) อาจจะแสดงเป็น Graphic Software บน คอมพิวเตอร์ก็ได้
 

ลักษณะของ Graphic Annunciator

5 . อุปกรณ์เสริม (Auxiliary Devices)

เป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อส่งสัญญาณไปสั่งงานยังระบบต่าง ๆ ภายในอาคาร เพื่อเพิ่มระบบความปลอดภัย เช่น

• ระบบบังคับลิฟต์ลงมาชั้นล่าง
• การปิดพัดลมในระบบปรับอากาศ
• การควบคุมเปิดประตูทางออก เปิดประตูหนีไฟ ปิดประตูกันไฟ
• ควบคุมระบบกระจายเสียงและประกาศแจ้งข่าว
• เปิดระบบดับเพลิง (ขึ้นอยู่กับการออกแบบ)
• ฯลฯ